ฝ่ายบุคคลและผู้ประกอบการ | 6 February 2017

Google พลาดแล้ว! ออฟฟิศแบบเปิดโล่ง ไม่ได้ช่วยให้การทำงานดีขึ้น

เพราะออฟฟิศที่เปิดโล่ง ไม่ได้ทำให้ไอเดียสร้างสรรค์ระเบิดออกมาอย่างที่บริษัทต่างๆ คิดอย่างเดียว แต่ออฟฟิศที่เปิดโล่งยังทำให้เกิดปัญหาต่อพนักงานในองค์กรได้ด้วย ส่วนจะเป็นทิศทางไหน มาดูเรื่องเล่าจากนักเขียนอาวุโสท่านหนึ่งในนิวยอร์กกันดีกว่า

“1 ปีแล้ว.. ที่เจ้านายบอกผมว่าบริษัทโฆษณายักษ์ใหญ่ในนครนิวยอร์กของเราจะกลายเป็นออฟฟิศแบบเปิดโล่ง เป็นเวลา9ปี ที่ผมทำงานในตำแหน่งนักเขียนอาวุโสมานาน และชินกับการนั่งทำงานที่มีฉากกั้นแบบส่วนตัวซะมากกว่า พอออฟฟิศเปลี่ยนเป็นแบบเปิดโล่ง ผมรู้สึกเหมือนว่าเจ้านายจับผมแก้ผ้าแล้วปล่อยผมล่อนจ้อนอยู่แบบนั้น..”

ในวันแรกนั้นโต๊ะของผมถูกจัดให้อยู่ในส่วนที่ดูน่านั่งขึ้น ถัดจากผมไปเป็นที่นั่งของสตรีที่ผมมองว่าเธอน่าจะเป็นพวกชอบส่งเสียงดังเหมือนแตรสมัยโบราณ ตลอดทั้งวันเธอเอาแต่ส่งเสียงหัวเราะตะโกนเอะอะ ร่วมไปกับเสียงดังของทำนองเพลงที่ออกมาจากคอมพิวเตอร์ของเธอ และด้วยความที่ผมเป็นพวกรักสุขภาพ ชอบดื่มน้ำขั้นหนัก ผมเกรงใจเหลือเกินว่าพวกเพื่อนร่วมงานจะมัวแต่คอยจับตานับจำนวนรอบที่ผมเดินเข้าออกห้องน้ำในแต่ละวัน ที่แย่กว่านั้น พอหมดวันผมต้องคอยบอกลาทุกคนในโต๊ะ แม้จะเลิกตรงเวลาเป๊ะ แต่ต้องทนกับการถูกจับผิดด้วยสายตาของพนักงานคนอื่นๆ

 

 

แม้จะดูเป็นปัญหาใหญ่เอาการสำหรับผม  แต่รูปแบบออฟฟิศแบบนี้ก็ยังเป็นที่นิยมไปทั่วทั้งประเทศ

คงเป็นสาเหตุมาจากการทำงานของสมาคมการบริหารทรัพยากรอาคารสากลนั่นแหละ  70% ของพนักงานออฟฟิศในอเมริกาตอนนี้ โต๊ะทำงานแทบไม่มีฉากกั้นระหว่างโต๊ะแล้ว

สิลิคอน วอลเล่ เองที่เป็นผู้นำในการยกเลิกการมีฉากกั้นระหว่างโต้ะ บริษัท Google, yahoo!, american express ต่างก็ร่วมมือด้วย CEO  คนดังอย่าง มาร์ก ซัคเคอเบิร์ก ยังขอความร่วมมือจากสถาปนิกชื่อดังอย่าง แฟรงก์ เกห์รี ให้ออกแบบโครงการพื้นที่เปิดโล่งขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยต้องใช้วิศวกรถึงเกือบ 3,000 คน นักธุรกิจ ไมเคิล บลูมเบิร์กก็เป็นคนแรกๆ ที่นำรูปแบบออฟฟิศแบบเปิดโล่งมาปรับใช้ เขาบอกว่าออฟฟิศแบบนี้จะช่วยให้ดูปลอดโปร่งโล่งสบายตา

 

 

ตอนที่เขาดำรงตำแหน่งนายกของนิวยอร์กนั้น ก็ได้หยิบรูปแบบออฟฟิศนี้มาปรับใช้ที่ศาลากลางและยังริเริ่มให้ “เดอะ บลูเพ็น (the Bullpen)” เป็นสัญลักษณ์ของการติดต่อสื่อสารแบบอิสระเพื่อเป็นการเข้าถึงได้ง่ายของประชาชน โครงการเหล่านี้เป็นต้นแบบที่สามารถเพิ่มพื้นที่ในบริษัทให้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ด้วย เจ้านายหลายๆ คนพอใจกับการที่พวกเขาสามารถจับตามองลูกน้องได้มากขึ้น ไม่ว่าลูกน้องจะแอบดูเว็บไซต์ 18+ แอบเล่นโซเชี่ยลมีเดียต่างๆ หรือแม้แต่แอบใช้โทรศัพท์บริษัทในการคุยธุระส่วนตัว  แม้จะดูมีประโยชน์มากมาย แต่เหล่าเจ้านายกลับพลาดตรงที่พวกเขากำลังสูญเสียศักยภาพในการทำงานของตัวลูกน้องไปด้วย

 

จากงานวิจัยพบว่าพนักงานหลายคนที่ทำงานในออฟฟิศรูปแบบดังกล่าวกลับอึดอัดเนื่องจากถูกรบกวนขณะทำงาน ซึ่งเป็นเหตุให้ศักยภาพในการทำงานของพวกเขาลดลงไปด้วย เกือบครึ่งของแบบสำรวจพบว่าการขาดพื้นที่ส่วนตัวในการทำงานถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับพนักงาน และมากกว่า30% ไม่พอใจกับการถูกรุกล้ำพื้นที่ส่วนตัว  ในขณะเดียวกันนั้น “ความง่ายในการปฎิสัมพันธ์” กับเพื่อนร่วมงาน เป็นสิ่งที่โครงการออฟฟิศแบบเปิดโล่งพยายามจะทำให้เกิดขึ้น แต่ปัญหาการสื่อสารนี้ มีพนักงานออฟฟิศจำนวนไม่ถึง 10% ที่ยอมรับว่าเป็นปัญหาจริงๆ ของออฟฟิศ    เอาเข้าจริง คนที่ทำงานในออฟฟิศแบบมีพื้นที่ส่วนตัวนั้น พวกเขาก็มีแนวทางในการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ อยู่แล้ว

 

 

จากงานวิจัยล่าสุดนักวิจัยสรุปว่า ออฟฟิศแบบเปิดโล่งที่ง่ายต่อการถูกเสียงรบกวนนั้นกลับส่งผลให้คุณภาพการทำงานของพนักงานแย่ลงเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเมื่อเทียบกับการทำงานในออฟฟิศส่วนตัวซะอีก สำนักข่าว นิวยอร์คเกอร์รายงาน จากการรวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบที่ทำงานแสดงให้เห็นว่า ประโยชน์ในการสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรในการทำงานกลับส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพของตัวพนักงานเองด้วย

 

และเมื่อพนักงานคุ้นเคยกับความผ่อนคลายและสังคมองค์กรใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ในท้ายที่สุดนั้นเองสภาพแวดล้อมเหล่านี้จะคอยบั่นทอนเวลา ความตั้งใจ ประสิทธิภาพ ความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงความพึงพอใจในการทำงานของตัวพนักงานเอง ที่มากไปกว่านั้น ความเป็นส่วนตัวเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นศักยภาพในการทำงานให้เกิดขึ้นได้ ในขณะที่สาเหตุของการเกิดความท้อแท้ในการทำงานอาจมาจากออฟฟิศแบบเปิดอิสระ เพราะถูกรบกวนขณะทำงาน ทั้งเพื่อนร่วมงานและตัวผมเองต้องทุกข์ทนจนแทบล้มป่วย ไอ้อาการเหล่านี้นั่นแหละที่ถึงกับทำลายความสำเร็จของพวกเราให้แย่ลงไปตามๆ กัน เมื่อมีพื้นที่ใหม่ที่เพิ่มเข้ามา ผมจำต้องตื่นเต้นกับการต้องมาเกี่ยวพันกับเพื่อนร่วมงานใหม่ๆ แต่สมรรถภาพในการทำงานของผมกลับด้อยคุณภาพลงอย่างถาวร

 

 

ในแต่ละวัน เพื่อนๆ รวมถึงตัวผมต้องนั่งจ้องหน้ากัน คนทั้ง 12 คนพยายามชวนกันคุยสัพเพเหระตั้งแต่ 9โมงเช้า ยัน 5โมงเย็น สถานการณ์เหมือนกำลังอยู่ในโรงเรียน ม.ต้น แต่เต็มไปด้วยนักเรียนวัยกลางคนแบบเราๆ ผู้คนที่ทำงานในออฟฟิศแบบมีพื้นที่ส่วนตัวเป็นเวลานานได้ออกมายืนยันว่าการทำงานแบบนี้มันมีแต่เสียงเอะอะรบกวน คนที่นั่งหันหน้าพูดคุยกันไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่านิสัยเสียงดังของตนเองรบกวนชาวบ้านมากแค่ไหน เพราะแบบนี้พวกเขาถึงได้ตะโกนแสดงความคิดของตัวเองหรือเล่นมุขตลกข้ามกันไปมาบนโต้ะอย่างไม่ได้สนใจ

 

ด้วยเหตุนี้ผมจะทำงานได้อย่างดีก็ต่อเมื่อตอนนั้นรอบตัวไม่มีคนอยู่ หรือไม่ก็ตอนที่ผมแยกตัวเองออกมาอยู่คนเดียวในสภาพห้องที่ผมอยู่แล้วสบายใจ ขนาดไม่ต้องใหญ่มากล้อมรอบไปด้วยหน้าต่างใส ถ้าหากเจ้านายทั้งหลายอยากจะเปลี่ยนออฟฟิศเป็นรูปแบบเปิดโล่งจริงๆ ก็น่าจะศึกษาให้ดีก่อนว่ามันจะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานได้จริงไม่

 

 

เพิ่มเติมอีกอย่างเจ้านายน่าจะเพิ่มพื้นที่ส่วนตัวแบบไม่ต้องมีหน้าต่างใสๆเหมือนจับพนักงานมาอยู่ในตู้ปลาและก็น่าจะเพิ่มลิมิตของการสื่อสารระหว่างพนักงานให้เพิ่มขึ้นซักหน่อย ยกตัวอย่างเช่นตอนที่เพื่อนร่วมงานกำลังปฎิบัติหน้าที่คุยกับลูกค้าโดยใส่หูฟังอยู่ พวกเพื่อนร่วมงานก็ควรแวะมาคุยกับเขาเวลาอื่นหรือเลือกที่จะส่งอีเมลหาเขาแทน และขอเลยนะเลิกเปิดเพลงตามใจตัวเองเวลาทำงานเถอะ การต้องนั่งฟังเพลงแนวเมทัลตอนบ่ายสามไม่ได้เข้ากับการที่ต้องมานั่งประชุมในอีก 1 ชั่วโมงข้างหน้าเลย

 

ในทางตรงกันข้ามบริษัทน่าจะส่งเสริมการทำงานในรูปแบบอื่น เช่น อนุญาตให้พนักงานทำงานที่บ้านได้ การทำงานแบบนี้พิสูจน์มาแล้วว่าเป็นการชาร์ตพลังให้พนักงานมีสมรรถภาพการทำงานที่ดีขึ้น เพราะมีเวลาในการทำงานมากขึ้ นเวลาพักน้อยลง ที่สำคัญที่สุดนั้นแทบจะไม่มีปัญหาเรื่องสิ่งรบกวนขณะทำงานเลย เพราะถ้าต้องทำงานที่บ้านแล้วสิ่งเดียวที่เป็นปัญหาสำหรับผมคือเจ้าตู้เย็นประจำบ้านนั่นแหละ

 

 

อ่านมาถึงตรงนี้ ออฟฟิศหลายแห่งคงยากจะกลับไปใช้ออฟฟิศเก่าๆ แบบดั้งเดิมเลย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น HR ทั้งหลาย ก็ควรจะปรึกษาพนักงานในองค์กรด้วย ว่าชอบออฟฟิศแบบไหน เพราะบรรยากาศที่ถูกใจตัวพนักงานเอง ย่อมส่งผลให้พนักงานมีความพึงพอใจต่อการทำงานมากขึ้น